ระบบขนส่งมวลชนอัจฉริยะ จุดเริ่มต้นของการพัฒนากรุงเทพฯ สู่สมาร์ทซิตี้

องค์การสหประชาชาติได้คาดการณ์ว่า ภายในปี 2030 ประชากรในกรุงเทพฯ จะเพิ่มขึ้นกว่า 12 ล้านคน[1] (ข้อมูลล่าสุด กรุงเทพฯ มีประชากรทั้งสิ้น 5.6 ล้านคน สำนักทะเบียนกลาง [2]) การคาดการณ์ขององค์การสหประชาชาติจึงเป็นตัวเลขที่น่าตกใจ สำหรับหนึ่งในมหานครที่มีความคึกคักที่สุดในโลก ถึงแม้ว่าการเติบโตในระดับนี้และการดึงดูดคนเข้ามาในเมืองมีข้อดีหลายอย่าง แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถสร้างปัญหาการจราจร โครงสร้างพื้นฐานที่ไม่สามารถรองรับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นได้ ระบบการเงินที่ทุกคนไม่สามารถเข้าถึงได้ทุกภาคส่วน และสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมลง รวมไปถึงระบบขนส่งมวลชนหากไม่มีการการวางแผนและการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้ประชาชนเลือกที่ใช้บริการระบบขนส่งมวลชนน้อยลง

ซึ่งส่งผลให้การจราจรในเมืองหนาแน่นขึ้น มีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มสถานีและเส้นทางบริการขนส่ง BTS และ MRT ให้เพิ่มยิ่งขึ้นกว่าที่มีอยู่ การต่อแถวเพื่อซื้อตั๋วที่ห้องจำหน่ายตั๋วทำให้เกิดความล่าช้า และการขนส่งคนจำนวนมากไปตามเครือข่ายเส้นทางขนส่งเป็นเรื่องท้าทายอย่างยิ่ง นับเป็นเรื่องดีอย่างยิ่งที่ กรุงเทพฯ จะเป็นหนึ่งใน ‘เมืองน่าอยู่อัจฉริยะ’ ที่สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมืองเหล่านี้จะมีการเชื่อมต่อ โดยการใช้บิ๊กดาต้าและเทคโนโลยีชั้นนำต่างๆ เพื่อช่วยให้การใช้ชีวิตพื้นฐานของผู้คนง่ายขึ้น และปูทางสำหรับการพัฒนาเป็นเมืองน่าอยู่อัจฉริยะอย่างยั่งยืนต่อไป

ระบบขนส่งมวลชนอัจฉริยะ ถือเป็นพื้นฐานของการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนก็ว่าได้

ความหมายของเมืองใหญ่มักเกี่ยวข้องกับระบบขนส่งมวลชน (เช่น ลอนดอนหรือโตเกียว) แต่สำหรับเมืองอัจฉริยะ ระบบการเดินทางขนส่งถือเป็นตัวกลางสำคัญที่ช่วยเชื่อมต่อองค์ประกอบต่างๆ ที่วุ่นวายในเมืองใหญ่เข้าด้วยกัน ในขณะที่จำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ระบบขนส่งมวลชนที่ทันสมัยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อช่วยลดความแออัดในการเดินทาง ลดจำนวนประชากรที่ต้องการเข้ามาอยู่อาศัยในย่านใจกลางเมือง CBD และช่วยให้คนที่เข้าอยู่อาศัยใหม่ในเมืองปรับใช้ระบบต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

สำหรับเมืองอัจฉริยะหรือสมาร์ทซิตี้ ระบบขนส่งมวลชนไม่ใช่ระบบที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่กลับเป็นเครือข่ายที่ ‘มีชีวิต’ สามารถตอบสนองการเดินทางที่มีความคล่องตัวได้ตลอดเวลา ผู้เดินทางจ่ายเงินแบบไร้สัมผัสแบบข้ามเครือข่ายผู้ให้บริการขนส่งซึ่งเชื่อมต่อเส้นทางการเดินทางที่หลากหลาย ทำให้สามารถเดินทางได้อย่างสะดวกทั่วเมือง และเพื่อให้ระบบการเดินทางแบบนี้มีประสิทธิภาพสูงสุด การจ่ายค่าเดินทางแบบ ‘open-loop’ จะเป็นระบบมาตรฐานที่ดีที่สุด เพราะเป็นระบบที่ผู้โดยสารไม่ได้ถูกจำกัดอยู่ที่วิธีการจ่ายเงินแบบใดแบบหนึ่งกับการบริการในเส้นทางใดเส้นทางหนึ่ง แต่กลับสามารถจ่ายได้ทุกเครือข่ายการเดินทางไม่ว่าจะด้วยบัตรคอนแทคเลส สมาร์ทโฟน และอุปกรณ์อัจฉริยะอื่นๆ

วิธีดังกล่าวถูกนำไปใช้แล้วในเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลกและให้ผลที่น่าพอใจแก่ผู้ให้บริการระบบขนส่งในแง่ของประสิทธิภาพ พร้อมให้ประสบการณ์การเดินทางที่น่าพอใจแก่ผู้เดินทางเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น มาสเตอร์การ์ดได้ช่วยวางระบบจ่ายเงินแบบ open-loop แก่มหานครลอนดอน จนสามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้ถึงปีละ 130 ล้านเหรียญสหรัฐ เพียงนำวิธีใหม่ในการจ่ายค่าตั๋วเดินทางมาใช้ และที่แวนคูเวอร์ ภายใน 2 เดือนหลังจากวางระบบและใช้วิธีการจ่ายค่าตั๋วแบบ open-loop มีผู้ใช้ระบบขนส่งมวลชนหันมาใช้วิธีการจ่ายแบบคอนแท็คเลสเป็นจำนวนถึงหนึ่งล้านคน จากเดิมที่ไม่มีผู้ใช้เลย

ระบบขนส่งมวลชนอัจฉริยะแบบ open-loop นี้ช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถรวบรวมข้อมูล และนำข้อมูลเหล่านี้มาปรับปรุงระบบการจัดการได้อย่างต่อเนื่อง (เช่น จัดตารางเวลาการเดินรถให้เหมาะกับจำนวนผู้โดยสาร) อีกทั้งยังช่วยให้รัฐบาลรับรู้ถึงการเดินทางของประชาชนในเมือง ซึ่งเป็นข้อมูลให้รัฐจัดการวางผังเมืองและบริการอื่นๆได้อย่างเป็นระบบมากขึ้น สำหรับกรุงเทพฯ การปรับเปลี่ยนการขนส่งมวลชนในภาพใหญ่นั้น จะเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้มั่นใจว่ากรุงเทพฯ จะสามารถรองรับการขยายเมือง และมีระบบที่ยั่งยืนที่ทุกคนสามารถได้รับประโยชน์ ซึ่งจะตอบสนองความต้องการของทั้งผู้อยู่อาศัยและนักเดินทางได้ดีขึ้น

เมื่อต้นปีนี้ มาสเตอร์การ์ดได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล “ดีป้า” (depa) เพื่อช่วยพัฒนา 27 จังหวัดนำร่องของไทยให้ก้าวสู่ความเป็นเมืองน่าอยู่อัจฉริยะในเครือข่าย City Possible ณ ปัจจุบัน มีจังหวัดที่เข้าร่วมในเครือข่าย City Possible แล้วทั้งหมด 40 จังหวัด สำหรับ City Possible ริเริ่มโดยมาสเตอร์การ์ดเป็นความร่วมมือและความคิดริเริ่มร่วมกันเพื่อนำเมืองใหญ่ต่างๆ ธุรกิจและชุมชนมาร่วมกันชี้เป้าความท้าทาย พร้อมกับร่วมกันคิดหาทางแก้ที่จะทำให้การพัฒนาเมืองมีความยั่งยืนและเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วม

โดยใช้บทเรียนและประสบการณ์จากเมืองใหญ่หลายแห่งทั่วโลกเช่น ลอนดอน นิวยอร์ค ซิดนีย์ สิงคโปร์ และเม็กซิโก ซิตี้ ซึ่งนำระบบการจ่ายเงินแบบดิจิทัลที่เป็น open loop มาใช้ข้ามเครือข่ายผู้ให้บริการเส้นทางขนส่งอย่างเต็มรูปแบบและยังคงตอบสนองความต้องการเฉพาะในแต่ละเมืองได้ ทั้งนี้ ในปี 2019 มาสเตอร์การ์ดเป็นเครือข่ายการจ่ายเงินข้ามประเทศรายแรกที่ร่วมมือกับหน่วยงานการขนส่งทางบกของสิงคโปร์ (Land Transport Authority – LTA) เพื่อเปิดตัว SimplyGo ซึ่งช่วยให้ผู้เดินทางสามารถจ่ายค่าโดยสารระบบขนส่งมวลชนสาธารณะด้วยโมบายล์วอลเล็ต อุปกรณ์แบบสวมใส่ และบัตรคอนแทคเลส ด้วย

ระบบที่ใช้วิธีการจ่ายเงินเดียวกับทุกเครือข่ายการเดินทางเป็นทางเลือกที่ไม่ไกลเกินเอื้อม เพราะความร่วมมือระหว่างผู้ให้บริการเทคโนโลยี หน่วยงานด้านการเดินทางและเครือข่ายผู้ให้บริการกำลังเร่งนำระบบดังกล่าวมาใช้ทั่วโลก ผู้ที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ และผู้ที่มาเยือนสามารถมั่นใจได้ว่า เมื่อกรุงเทพฯ พัฒนาสู่ความเป็นเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ การจ่ายเงินเพื่อเดินทางจะยิ่งสะดวกราบรื่นและปลอดภัย เช่นเดียวกับอีกหลายๆ ด้านของชีวิตในเมืองใหญ่


[1] https://www.un.org/en/events/citiesday/assets/pdf/the_worlds_cities_in_2018_data_booklet.pdf

[2] ข้อมูลจากประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่องจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 31 ธ.ค.2562

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *