วัฒธรรมของชาวเพอรานากัน(Peranakan) หรือ “เปอรานากัน” ยังคงเป็นมนต์เสน่ห์ที่ยังเห็นอยู่ได้ตามแหล่งท่งเที่ยวทางภาคใต้ของไทย เป็นคําที่ถูกใช้เรียกกลุ่มชนชาวจีนเลือดผสมที่ถือกําเนิดและอาศัยอยู่ในบริเวณคาบสมุทรมลายู ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และไทย ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความโดดเด่นไม่น้อยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งปัจจุบันยังพบว่ามีการสืบทอดทางวัฒนธรรมชาวเพอรานากันอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย
นักศึกษาหลักสูตรปริญญานิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์การตลาด มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มีความสนใจและต้องการศึกษาวัฒธรรมชาวเพอรานากัน เพื่อสนับสนุนและกระตุ้นการท่องเที่ยวหลังวิกฤตไวรัสโคโรน่าโควิด – 19 ให้กลับมาสู่ภาคการท่องเที่ยวเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ซึ่งได้รับทุนพัฒนาบัณฑิตจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2563
นางสาวทิพย์พิรุณ พุมดวง ผู้วิจัยและนักศึกษาหลักสูตรปริญญานิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์การตลาด มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า “ จากการศึกษาวิจัยหัวข้อ “กลยุทธ์การเล่าเรื่องวัฒนธรรมเพอรานากันเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงเส้นอันตามันคลัสเตอร์” มีประเด็นสำคัญ 3 ประการ กล่าวคือ
(1) วัฒนธรรมเพอรานากันเป็นทุนทางวัฒนธรรมของกลุ่มอันดามันคลัสเตอร์ที่ควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าและใช้เป็นทางเลือกในการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อแก้ไขจุดอ่อนด้านการท่องเที่ยวของกลุ่มอันดามันคลัสเตอร์
(2) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย นอกจากทรัพยากรทางธรรมชาติแล้วประเทศไทยยังมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศให้เดินทางมาท่องเที่ยวได้
(3) การเล่าเรื่องนับเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำหน้าที่สื่อสารเพื่อจูงใจให้นักท่องเที่ยวตัดสินใจเดินทางมาท่องเที่ยวรวมถึงเพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้าในคุณค่าของวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น ก่อให้เกิดความยั่งยืนของการท่องเที่ยง ชุมชน และสังคม ดังนั้นหากมีการเล่าเรื่องที่ดีเชื่อว่าจะทำให้จุดอ่อนด้านการท่องเที่ยวของกลุ่มอันดามันคลัสเตอร์กลายมาเป็นจุดแข็งได้
ผลที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานด้านการท่องเที่ยว โดยเป็นทางเลือกในการนำไปใช้เพื่อวางแผนกลยุทธ์การเล่าเรื่องเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ไม่เพียงแต่ในกลุ่มอันดามันคลัสเตอร์เท่านั้น ยังสามารถนำไปปรับใช้กับกลุ่มคลัสเตอร์อื่นได้อีกด้วย นอกจากนี้ภาคธุรกิจยังสามารถนำกลยุทธ์การเล่าเรื่องไปปรับใช้กับธุรกิจของตนเองเพื่อให้สอดรับกับนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมายได้อีกด้วย”
รศ.ดร.จันทิมา เขียวแก้ว อาจารย์ที่ปรึกษาหลักสูตรปริญญานิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์การตลาด มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า “งานวิจัยเรื่องนี้เป็นความภาคภูมิใจของหลักสูตรปริญญาเอกสาขาวิชานิเทศศาสตร์การตลาดที่ได้รับความไว้วางใจจากสำนักงานวิจัยแห่งชาติที่ให้ทุนสนับสนุนโครงการนี้ ช่วยให้นักศึกษาของเราสามารถดำเนินการวิจัยที่มีส่วนช่วยประเทศไทยใการพัฒนาประเทศด้านการท่องเที่ยวโดยเฉาะในช่วงวิกฤโควิต – 19
นอกเหนือจากการเล่าเรื่องเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวแล้ว หากวัฒนธรรมเพอรานากันซึ่งเป็นทุนทางวัฒนธรรมที่สำคัญของประเทศไทยถูกนำไปเล่าเรื่องต่อไปเรื่อย ๆ จะทำให้วัฒนธรรมดังกล่าวอยู่กับประเทศไทยต่อไปไม่เลือนหายไปกับกาลเวลา สอดคล้องกับวิสัยทัศน์การท่องเที่ยวไทยที่ว่า ประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพชั้นนำของโลก ที่เติบโตอย่างมีดุลยภาพบนพื้นฐานความเป็นไทย เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และกระจายรายได้สู่ประชาชนทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืนต่อไป”