IDE Accelerator ปี 5 หนุนผู้ประกอบการพัฒนาไอเดียโดยนวัตกรรม

เมื่อเร็วๆนี้มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยศูนย์การสร้างผู้ประกอบการที่เคลื่อนโดยรนวัตกรรม (IDE Center by UTCC) ร่วมกับบริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด จัดโครงการ IDE Accelerator 2021 สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาไอเดียโดยนวัตกรรม ซึ่งมีทีมผู้ประกอบการสมัครเข้าร่วมโครงการกว่า 60 ทีม จากทั่วประเทศ ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ทีมผู้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ จะได้เรียนรู้กระบวนการสร้างองค์ความรู้ IDE Methodology 24 Steps มุ่งเน้นพัฒนาผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม

โดยขั้นตอน Intensive Knowledge Sharing และ Face-to-Face Coaching Sessions ตลอดทั้ง 5 เดือน ในช่วงเดือน ตุลาคม 2563 – กุมภาพันธ์ 2564 โดยในปีนี้มุ่งเน้นสร้างผู้ประกอบการนวัตกรรมในชุมชนต่าง ๆ เพราะกระบวนการของ IDE ยังมุ่งหน้าตอกย้ำเรื่องของการสำรวจให้เจอประเด็นปัญหาที่จำเป็นของคน  ก่อนที่ที่ผู้ประกอบการผลิตหรือสร้างขึ้นตามความเชี่ยวชาญหรือก่อนการหาวิธีการแก้ไขปัญหา

ผศ.ดร. ศักดิพล เจือศรีกุล ผู้อำนวยการ IDE Center มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า “IDE Center ได้ดำเนินการจัดโครงการ IDE Accelerator ครั้งนี้เป็นปีที่ 5 แล้ว และยังคงได้รับเสียงตอบรับที่ดีมาตลอด ที่ผ่านมาเราได้มีเครือข่ายที่เป็นผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรมกระจายอยู่ทั่วประเทศไทย การจัดงานในปีนี้ก็ถือได้ว่าเป็นเป็นนิมิตหมายอันดีที่ทีมจากได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จหลากหลายท่านๆ ทั้งนี้ยังมีกิจกรรมสนุกๆ ให้ได้ลองสำรวจตลาดไอเดียธุรกิจตัวเอง และในปีนี้เนื้อหาของเราจะเข้มข้นมากขึ้นโดยการออกแบบวิธีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมกับทีมมากขึ้น  ทั้งนี้สำหรับทีมเข้าร่วมโครงการฯ ลุ้นรับรางวัลที่มีไอเดียดีที่สุด (Best ideas) และทีมมีความก้าวหน้ามากที่สุด (Best Progress) และยังได้มีโอกาสเข้าร่วม IDE Competition 2021 สำหรับงาน IDE THAILAND 2021 ที่จะจัดขึ้นหลังจากนี้ และท่านสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ของศูนย์การสร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรมได้ที่เพจ : IDE Thailand”

ดร.เอ็ดเวิร์ด รูเบซ ผู้อำนวยการหลักสูตร IDE  มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่าวันนี้มีการบรรยายเนื้อหาในหัวข้อ Journey Mapping การเริ่มต้นกระบวนการคิดแบบผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรมนั้นสามารถเกิดได้จากชุดความคิด (Mindset) ที่ให้เวลากับการสำรวจ (Explore)  สิ่งต่างๆ รอบตัว และที่สำคัญ คือ การมองหากลุ่มเป้าหมายที่คาดว่าในอนาคต (People) จะสามารถพัฒนาให้เป็นลูกค้า (persona) ได้อนาคต โดยการพูดคุยแบบไม่เป็นทางการเพื่อเก็บข้อมูลเชิงลึก เพื่อหาค้นหา pain จากแนวการปฏิบัติ หรือวิถีชีวิตของ action และผู้ประกอบการจะสามารถกำหนด Goal ได้ในที่สุด และแนะนำเคล็ดลับการเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกโดยการเลือกพูดคุยกลุ่มเป้าหมายที่คิดว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดแนวทางการวางแผน (People I have Gotten to Talk) อีกส่วนที่สำคัญคือ การโค้ชชิ่ง ที่เน้นการตั้งคำถาม มากกว่าให้คำแนะนำ เพื่อให้ทีมได้กลับไปคิดวิเคราะห์ว่าข้อมูลที่ตัวเองมีอยู่นั้นเพียงพอแล้วหรือไม่ หากไม่พอให้กลับไปทำซ้ำอีก จนกว่าจะสามารถตอบคำถามให้ได้ภาพชัดเจนที่สุด โดย EP1 นั้น จะเน้นในเรื่องแฟ้มข้อมูลผู้ใช้ตัวจริง (Persona) ไปจนถึง User Journey เส้นทางการเดินทางของผู้ใช้ก่อนจะใช้สินค้า/บริการ”

คุณนิชานันท์ มั่งคั่ง Co-founder, Mommylicious Juice บริษัท มัมมี้ลิเชียส ทเวนตี้โฟร์ จำกัด เล่าว่า “วันนี้ได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในฐานะผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรมในประเด็น Customer Insight กระบวนการเรียนรู้แบบ IDE ของแบรนด์ Mommy licious juice เริ่มต้นจากสำรวจกลุ่มลูกค้าที่มี pian point ที่เราอยากจะเขาไปแก้ซึ่งตอนแรกก็ยังไม่รู้ว่าจะสามารถเข้าไปช่วยแก้ไขได้อย่างไร นั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นของการสำรวจ ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อสังเกตว่าเขามี Action อย่างไรในการลด pain point นั้น  และผลิตภัณฑ์ของเราจะทำให้มันดีกว่าได้อย่างไร ซึ่งตอนนั้นก็ยังไม่รู้เลยว่าเราจะสามารถเป็น solution ให้ได้มากน้อยแค่ไหน และก็เริ่มที่จะสร้าง prototype ง่ายๆ โดยใช้ต้นทุนที่น้อย เพราะไม่อยากให้เจ็บตัวเยอะ เพราะเราต้องการทดลองตลาดก่อนว่าถ้าเราทำแบบนี้ลูกค้าต้องการจริง หรือตอบโจทย์เขาได้อย่างไร ไม่เป็นไรเลยถ้า prototype ที่เราทำจะมีแค่ลูกค้าคนเดียว (เปรียบเสมือน Persona) หรือหลังจากนั้นจะมีลูกค้าเพิ่มขึ้น 2-3 คน หลังจากนั้นก็เลยมานั่งมองว่า Mommy licious juice ก็สามารถช่วยให้คุณแม่เพิ่มน้ำนมได้ขึ้นจริงๆ เพราะการลงมือทำของเรามันไม่มีสูตรสำเร็จ ต้องทำซ้ำ ปรับเปลี่ยนตลอดเวลา”

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *