จากงานประกาศผลรางวัลสุดยอดนักข่าวป้ายแดงแห่งปีพ.ศ.2562 – พ.ศ.2563 จัดโดยสมาคมนักข่าวอาชญากรรมแห่งประเทศไทย แบ่งเป็นสาขาหนังสือพิมพ์ และสาขาวิทยุโทรทัศน์ โดยคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สามารถดว้ารางชนะเลิศวัลสุดยอดนักข่าวป้ายแดงแห่งปี 2562-2563 จากผลกระทบของ โควิด-19 ของนายคณาธิป มีบุญสูงและนาย ฟิลิป แสนขัด คณะนิทศศาสตร์ สาขาภาพยนตร์ ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
นายคณาธิป มีบุญสง คณะนิเทศศาสตร์ สาขาภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ชั้นปีที่3 เจ้าของผลงานผลกระทบโควิด-19 รางวัลชนะเลิศสุดยอดนักข่าวป้ายแดงแห่งปี 2562-2563 กล่าวว่า “ทางคณะนิเทศศาสตร์ได้เชิญชวนให้กลุ่มผมทำสารคดีหนึ่งเรื่องร่วมเข้าประกวดครั้งนี้ ประกอบกับในช่วงเวลานั้นเกิดวิกฤตไวรัสโคโลน่าโควิด-19 จึงทำให้ไม่สามารถเดินทางไปถ่ายทำสารคดีในสถานที่ต่างๆ ได้ เพราะครอบครัวผมเองก็ประสบกับเหตุการณ์นี้โดยตรง
เนื่องจากบ้านอยู่ที่ตลาดดินแดง พ่อค้าแม่ค้าบริเวณนี้ไม่สามารถมาขายของได้อีกเหมือนเดิมที่นั่งให้ลูกค้าทานอาหารก็ไม่มีเหมือนเดิมอีกต่อไป ในส่วนร้านที่ยังเปิดขายได้ก็มีการใช้มาตรการในการป้องกันอย่างเคร่งครัดตามที่รัฐบาลประกาศ รวมถึงมีการปรับปรุงรูปแบบการขายและปรับปรุงร้านให้มีที่กั้นระหว่างบุคคลมากขึ้น เลยเป็นที่มาทำให้พวกผมอยากรู้ว่าแต่ละร้านมีวิธีการป้องกันหรือการเปลี่ยนแปลงให้ตรงตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงอย่างไร จากนั้นเริ่มถ่ายทำวีดีโอเก็บไว้เป็นจุดๆ ซึ่งสถานที่แรกเลือกเป็นร้านค้า
นอกจากนี้ก็จะมีร้านขายยาที่ได้เข้าไปขอถ่ายวีดีโออย่างถูกต้อง โดยทางเภสัชกรได้มีการพูดและให้ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการป้องกันโควิด-19 ประชาชนและคนทั่วไปควรมีวิธีการรับมือและเตรียมตัวอย่างไร เพื่อให้ตนเองและครอบครัวนั้นห่างไกลไวรัสครั้งนี้ รวมถึงการเว้นระยะห่าง การป้องกัน รวมถึงลดการสัมผัสให้ได้มากที่สุด รวมถึงการให้บริการในร้านขายยางดการวัดความดัน การวัดค่าน้ำตาลสำหรับผู้ป่วยเป็นเบาหวานเพราะอุปกรณ์นั้นต้องมีการสัมผัสระหว่างร่ายกาย จึงถือว่าเป็นความเสี่ยงสูงเช่นกัน และการให้บริการภายในร้านทางร้านก็จะมีการใส่ถุงมือยางรวมถึงหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่อยู่ภายในร้าน
ในส่วนของการถ่ายทำนั้นจะยากในเรื่องของเวลาที่น้อยลงมีการประกาศเคอร์ฟิว ทำให้มีเวลาจำกัด ด้านเทคนิคการถ่ายทำที่ทำให้ได้รับรางวัลเน้นการสัมภาษณ์ จากนั้นก็นำบทสัมภาษณ์มานั่งถอดหาใจความเพื่อที่จะทำให้เราทราบถึงสิ่งที่ผู้ให้สัมภาษณ์ต้องการจะสื่ออะไร หลังจากนั้นจึงไปถ่ายบริเวณหรือพื้นที่เนื้อหาที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สอดคล้องกัน”
นายฟิลิป แสนขัด คณะนิเทศศาสตร์ สาขาภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ชั้นปีที่ 3 เจ้าของผลงานผลกระทบโควิด-19 รางวัลชนะเลิศสุดยอดนักข่าวป้ายแดงแห่งปี 2562-2563 เล่าว่า “เทคนิคการตัดต่อครั้งนี้เรียงลำดับขั้นตอนตั้งแต่เรื่องของโควิด-19 สาเหตุที่ทำให้เกิดความเสี่ยงและส่งผลให้เกิดการรับเชื้อ ตลอดจนวิธีการรับมือและป้องกันมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง มีการตัดเสียงไปใส่ในเนื้อหาภาพให้สอดคล้องกันให้คนดูนั้นเห็นภาพและเข้าใจง่ายมากขึ้น
สาระสำคัญของสารคดีครั้งนี้อยากให้ทุกคนทราบถึงผลกระทบของโควิด-19 ในแง่ร้านค้า ชุมมชนและสถานที่สาธารณะต่างๆ วิธีการรับมือที่มีประสิทธิภาพและได้ผลมากที่สุดที่ทุกคนควรจะทำตามเพื่อป้องกันโควิด-19 เนื้อหาภายในวีดีโอมีการเรียบร้องเนื้อหาประยุกต์จากการศึกษาข่าวสารคดีสื่อมวลชนสาขาต่างๆ ที่สำคัญผมได้นำวิชาที่เรียนในคณะเป็นวิชาการตัดต่อและเล่าเรื่อง โดยวิชานี้จะช่วยให้สามารถเรียบเรียงเนื้อหาและความน่าสนใจได้ว่าควรทำในรูปแบบไหนงานจึงจะออกมาน่าสนใจและดึงดูดให้ผู้ชมอยากที่จะดูจนจบ
ในส่วนของการถ่ายทำทางทีมจะนำหลักการนำเสนองานมาประยุกต์ใช้เป็นหลัก เพราะการถ่ายทำมุมกล้องเป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารอย่างมาก เพื่อที่จะทำให้คนดูทราบถึงสิ่งที่ต้องการสื่อสารให้ชัดเจนมากขึ้น จากการได้รับรางวัลครั้งนี้เหมือนการสร้างแรงบันดาลใจให้พวกเราอยากที่จะผลิตงานชิ้นต่อไป อยากจะนำข้อบกพร่องหรือประสบการณ์จากการที่ทำงานนี้ไปต่อยอดและพัฒนางานให้ออกมาดีและมีประโยชน์ต่อสังคม”