วิกฤติการระบาดของไวรัสโควิดในประเทศไทยสำหรับคลื่นลูกที่สองนี้นำมาสู่มาตรการเพื่อการกดจำนวนผู้ป่วยให้เพิ่มน้อย (flatten the curve) แลกกับการจำกัดการเคลื่อนที่และการสัมผัสของผู้คน ซึ่งจะมีผลกระทบต่อผู้ที่ทำมาหากินกับการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คน เช่นตลาด ร้านอาหาร ขนส่ง บริการ ซึ่งก็เป็นที่ยอมรับว่าสมดุลระหว่างการลดผู้ป่วยและคงการไหลเวียนของระบบเศรษฐกิจเป็นสิ่งจำเป็น
อาจารย์ นายแพทย์ อนวัช เสริมสวรรค์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่านวัตกรรมการบำบัดอากาศ ซึ่งเป็นเรื่องที่ยังไม่มีใครพูดถึงหรือไม่มีวิธีการที่ได้ผลสำหรับการจำกัดการแพร่เชื้อภายในอาคารสำหรับพื้นที่ขนาดใหญ่ หลักการป้องกันสำคัญที่เรานำเสนอคือ หากคนหนึ่งหายใจออกมาและอากาศนั้นได้ถูกบำบัดก่อนจะมีการหายใจโดยอีกคนหนึ่งจะลดการแพร่เชื้อไวรัสได้มาก สร้างความมั่นใจต่อประชาชนและภาคธุรกิจ
ทางคณะแพทย์ สจล. ได้พัฒนาระบบการฆ่าเชื้อไวรัสผ่านม่านไฟฟ้าความต่างศักย์สูง (electrostatic precipitator หรือ ESP) มาใช้ร่วมกับ HEPA ให้สามารถบำบัดอากาศได้ปลอดภัยและประหยัดได้มากว่าการใช้ HEPA เพียงอย่างเดียว นอกจากนั้นระบบที่พัฒนาขึ้นไม่มีการปล่อยโอโซนออกมาอีกด้วย ซึ่งระบบดังกล่าวสามารถกำจัดมลภาวะจากเชื้อโรคและฝุ่น PM 2.5 ได้ มีผลทำให้อากาศหลังบำบัดสะอาด หมุนเวียนไปหายใจโดยผู้อื่นได้โดยปลอดภัย ซึ่งระบบดังกล่าวได้มีการต่อยอดไปผลิตเป็นระบบ Active Plasma ที่สามารถบำบัดอากาศในห้องประชุม โรงแรม โรงพยาบาล โรงหนัง สนามมวย ร้านอาหาร หรือสถานที่มีผู้คนอยู่มาก
โดยใช้ทุนติดตั้งที่ต่ำ ทำได้ทั้งพื้นที่โดยการใช้โครงข่ายของท่อที่มีการดูดอากาศกลับที่พื้นผ่านตัวฆ่าเชื้อ มีการวางระบบดูดอากาศจากพื้นนำไปบำบัดด้วยเครื่อง Active Plasma ก่อนนำมาปล่อยในที่สูง ลักษณะการไหลเวียนแนวดิ่งนี้จะทำให้ลดการแพร่เชื้อด้านข้างอีกด้วย ทำให้โอกาสการติดเชื้อทางเดินหายใจภายในอาคารระหว่างบุคคลเกิดขึ้นได้ยาก
ในอนาคตเชื่อว่าระบบบำบัดอากาศดังกล่าวจะมีความสำคัญและลดปัญหาการติดเชื้อทางเดินหายใจ ปัญหาแทรกซ้อนจาก PM 2.5 ในระยะยาว
เพื่อให้ทันการณ์ต่อภาวะการระบาดของไวรัสโควิดคลื่นที่สอง ทางคณะแพทย์ สจล.เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่สนใจนำต้นแบบไปติดตั้งและขยายผลได้ตามโครงการ Open Machine ซึ่งทางคณะแพทย์ สจล. จะมีผู้เชี่ยวชาญที่จะช่วยถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ได้ สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจติดตั้งระบบบำบัดอากาศภายในอาคาร หรือต้องการได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี สามารถติดต่อได้ที่ หมายเลข 0962311353
คณะแพทยศาสตร์ สจล. พัฒนานวัตกรรมบำบัดอากาศภายในอาคาร สำหรับการจัดการไวรัสโควิด
วิกฤติการระบาดของไวรัสโควิดในประเทศไทยสำหรับคลื่นลูกที่สองนี้นำมาสู่มาตรการเพื่อการกดจำนวนผู้ป่วยให้เพิ่มน้อย (flatten the curve) แลกกับการจำกัดการเคลื่อนที่และการสัมผัสของผู้คน ซึ่งจะมีผลกระทบต่อผู้ที่ทำมาหากินกับการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คน เช่นตลาด ร้านอาหาร ขนส่ง บริการ ซึ่งก็เป็นที่ยอมรับว่าสมดุลระหว่างการลดผู้ป่วยและคงการไหลเวียนของระบบเศรษฐกิจเป็นสิ่งจำเป็น
อาจารย์ นายแพทย์ อนวัช เสริมสวรรค์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่านวัตกรรมการบำบัดอากาศ ซึ่งเป็นเรื่องที่ยังไม่มีใครพูดถึงหรือไม่มีวิธีการที่ได้ผลสำหรับการจำกัดการแพร่เชื้อภายในอาคารสำหรับพื้นที่ขนาดใหญ่ หลักการป้องกันสำคัญที่เรานำเสนอคือ หากคนหนึ่งหายใจออกมาและอากาศนั้นได้ถูกบำบัดก่อนจะมีการหายใจโดยอีกคนหนึ่งจะลดการแพร่เชื้อไวรัสได้มาก สร้างความมั่นใจต่อประชาชนและภาคธุรกิจ
ทางคณะแพทย์ สจล. ได้พัฒนาระบบการฆ่าเชื้อไวรัสผ่านม่านไฟฟ้าความต่างศักย์สูง (electrostatic precipitator หรือ ESP) มาใช้ร่วมกับ HEPA ให้สามารถบำบัดอากาศได้ปลอดภัยและประหยัดได้มากว่าการใช้ HEPA เพียงอย่างเดียว นอกจากนั้นระบบที่พัฒนาขึ้นไม่มีการปล่อยโอโซนออกมาอีกด้วย ซึ่งระบบดังกล่าวสามารถกำจัดมลภาวะจากเชื้อโรคและฝุ่น PM 2.5 ได้ มีผลทำให้อากาศหลังบำบัดสะอาด หมุนเวียนไปหายใจโดยผู้อื่นได้โดยปลอดภัย
ซึ่งระบบดังกล่าวได้มีการต่อยอดไปผลิตเป็นระบบ Active Plasma ที่สามารถบำบัดอากาศในห้องประชุม โรงแรม โรงพยาบาล โรงหนัง สนามมวย ร้านอาหาร หรือสถานที่มีผู้คนอยู่มาก โดยใช้ทุนติดตั้งที่ต่ำ ทำได้ทั้งพื้นที่โดยการใช้โครงข่ายของท่อที่มีการดูดอากาศกลับที่พื้นผ่านตัวฆ่าเชื้อ มีการวางระบบดูดอากาศจากพื้นนำไปบำบัดด้วยเครื่อง Active Plasma ก่อนนำมาปล่อยในที่สูง ลักษณะการไหลเวียนแนวดิ่งนี้จะทำให้ลดการแพร่เชื้อด้านข้างอีกด้วย ทำให้โอกาสการติดเชื้อทางเดินหายใจภายในอาคารระหว่างบุคคลเกิดขึ้นได้ยาก
ในอนาคตเชื่อว่าระบบบำบัดอากาศดังกล่าวจะมีความสำคัญและลดปัญหาการติดเชื้อทางเดินหายใจ ปัญหาแทรกซ้อนจาก PM 2.5 ในระยะยาว เพื่อให้ทันการณ์ต่อภาวะการระบาดของไวรัสโควิดคลื่นที่สอง ทางคณะแพทย์ สจล.เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่สนใจนำต้นแบบไปติดตั้งและขยายผลได้ตามโครงการ Open Machine ซึ่งทางคณะแพทย์ สจล. จะมีผู้เชี่ยวชาญที่จะช่วยถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ได้ สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจติดตั้งระบบบำบัดอากาศภายในอาคาร หรือต้องการได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี สามารถติดต่อได้ที่ หมายเลข 0962311353