จากวิกฤตไวรัสโคโรน่าโควิด – 19 ส่งผลต่อมหาวิทยาลัยทางด้านเชิงบวกทำให้มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด ต้องกลับมาทบทวนในการจัดหลักสูตรที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอนของนักศึกษาในระบบออนไลน์เพิ่มมากขึ้น จุดแข็งของมหาวิทยาลัยได้มีการพัฒนาระบบการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์มามากกว่า 5 ปี ทำให้มีความพร้อมด้านการเรียนการสอนออนไลน์เต็มรูปแบบ โดยมีรูปแบบสื่อการสอนรูปของ “Blackboard Collaboration” ที่สามารถทแบ่งปันไฟล์งานให้กับนักศึกษาด้อย่างมีระบบ นอกจากนี้อาจารย์และนักศึกษายังสามารถโต้ตอบจากเรียนการสอนแบบตลอดเวลา (Real Time) และสามารถบันทึกการเรียนการสอนไว้รับชมย้อนหลังได้อย่างง่ายดาย
ดร.สุทธิภัทร อัศววิชัยโรจน์ อาจารย์คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด เปิดเผยว่า “หลังจากวิกฤตไวรัสโคโรน่านี้ประเทศไทยระดับอุดมศึกษามหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ดพร้อมมีการเปลี่ยนแปลงทั้งในเรื่องของการปรับการเรียนการสอนที่ต้องปรับให้สอดคล้องในรูปแบบออนไลน์และที่อำนวยความสะดวกเพิ่มมากขึ้น ทำให้นักศึกษาสามารถเข้าชั้นเรียนไม่ว่าที่ไหนและเมื่อไหร่ พร้อมปรับหลักสูตรให้ทันสมัยสอดรับกับสถานการณ์ที่เกิดการเปลี่ยนแปลง หากต้องเรียนผ่านระบบออนไลน์เต็มรูปแบบ คุณภาพมาตรฐานการศึกษาของนักศึกษาไทยจะสามารถวัดได้จากการมีส่วนร่วมและการทำรายงาน ตลอดจนการนำเสนอผลงานในชั้นเรียน โดยสามารถเป็นเกณฑ์ในการวัดคุณภาพในการศึกษาได้ ทั้งนี้ระดับการเรียนการสอนในระดับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ สัดส่วนของการสอบข้อเขียนเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับการวัดผลการเรียนรู้ทั้งหมด การวัดผลจากการนำเสนอผลงาน และการวิเคราะห์กรณีศึกษาจากสถานการณ์จริง จึงถือได้ว่า เป็นส่วนที่สำคัญที่ช่วยกระตุ้นให้นักศึกษาก่อให้เกิดการคิ วิเคราะห์ และแยกแยะ ตลอดจนการสังเคราะห์สิ่งที่ได้ร่ำเรียนมาปรับใช้ในการตัดสินใจแก้ปัญหาต่างๆได้”
“ในกรณีที่นักศึกษาต่างจังหวัดที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบออนไลน์ได้จริงๆ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม คือ การจัดทำ การบันทึกเทปการทบทวนบทเรียนในรายวิชาต่างๆ หรือการเรียนเสริมออกมาเป็นในรูปแบบบันทึก record เป็นซีดี ที่สามารถนำส่งทางไปรษณีย์ หรือ บันทึกออนไลน์ เพื่อที่นักศึกษาสามารถฟังย้อนหลังในกรณีที่สามารถที่จะเข้าถึงระบบออนไลน์หลังจากนั้นได้ ปัจจุบันจากจำนวนนักศึกษาที่ลดน้อยลงทุกมหาวิทยาลัยในระดับอุดมศึกษาได้รับผลกระทบหลายด้าน อีกทั้งการมาเรียนในระดับอุดมศึกษาที่นักศึกษาส่วนใหญ่มองว่ายังอาจจะไม่จำเป็น และต้องการจัดสรรรายได้ไปใช้ส่วนอื่นๆ เพื่อตอบสนองความจำเป็นในการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งส่งผลให้มหาวิทยาลัยส่งผลกระทบต่อมหาวิทยาลัยด้านค่าใช้จ่ายและรายได้ มหาวิทยาลัยในประเทศไทยต้องปรับตัวและพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องให้มีความสอดคล้องกับรายได้ของมหาวิทยาลัย ในการหารายได้เข้าสู่มหาวิทยาลัยใช้รูปแบบและหลักการโมเดลจากต่างประเทศ ซึ่งมีการหารายได้จากงานวิจัยที่สอดคล้องกับภาคธุรกิจ เพื่อหางบสนับสนุนให้กับมหาวิทยาลัย นอกจากนี้หน้าที่ของมหาวิทยาลัยในต่างประเทศเอง เป็นศูนย์ให้บริการทางวิชาการกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนต่างๆ ตลอดจนข้อเสนอแนะและหาข้อมูลวิจัยมาสนับสนุนในการดำเนินธุรกิจจริง สามารถนำมาใช้ในการตอบโจทย์การบริหารงานของหน่วยงานรัฐบาล เพื่อคิดค้นนวัตกรรมและแนวความคิดใหม่ๆ เพื่อตอบสนองต่อสังคมในชุมชนต่อไป”