ในภาวะวิกฤตไวรัสโคโลน่าโควิดระบาดรอบที่ 3 ส่งผลให้ผู้ประกอบการควรเน้นการปรับตัวในเรื่องการลดต้นทุนและการจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อมาเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจสามารถดำเนินกิจการต่อได้ ตลอดจนต้องมองหาธุรกิจที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบันที่ใช้เวลาอยู่บ้านเพิ่มมากขึ้น
ซึ่งหลายบริษัทหรือองค์กรต่างๆต้องใช้กลยุทธ์การลดขนาด (downsizing) ในการปรับธุรกิจให้อยู่รอด โดยการปรับลดขนาดของหน่วยธุรกิจให้มีขนาดเล็กลง (Flat and Lean) เพื่อให้เกิดสภาพคล่องและลดจำนวนขั้นตอนของการติดต่อให้ลดน้อยลง เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับธุรกิจตนเอง
เปิดเผยว่า “การระบาดของไวรัสครั้งนี้ส่งผลระยะเวลานานกว่าทุกครั้งและมีการระบาดผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น ด้านผู้ประกอบการร้านอาหารประเทศไทยที่มีจำนวนมาก ควรให้ความสนใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขายอาหาร ไม่เพียงแต่เฉพาะการขายอาหารเพียงอย่างเดียว แต่ควรใช้ช่องทางการขายอาหารมาเพิ่มรายได้ เช่น เพิ่มรูปแบบการขาย เป็นอาหารที่สามารถที่จะเก็บได้นานมากขึ้นหรืออาหารแปรรูปสำหรับลูกค้า
ตลอดจนใช้ช่องทางออนไลน์ขายสินค้าเพิ่มเกี่ยวกับวัตถุดิบที่สามารถขายให้กับผู้บริโภคได้ เช่น ซอสปรุงรส หรือว่าวัตถุดิบส่วนผสมในอาหารต่างๆ ซึ่งสามารถนำไปประกอบที่บ้านได้ (Ready to Cook) หรือเอาไปปรุงสุกในมื้อถัดไปได้เอง ในกรณีที่ธุรกิจหรือผู้ประกอบการเองประสบภาวะขาดทุนและแหล่งเงินทุนจากภาครัฐบาล และธนาคารเอกชน โดยในปัจจุบันมีหลายที่ที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการเพิ่มวงเงินสินเชื่อในการประกอบธุรกิจและเพิ่มสภาพคล่องให้กับธุรกิจ
ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนที่ช่วยในเรื่องของการสร้างสภาพคล่องให้กับธุรกิจและสามารถที่จะต่อยอดต่อไปในธุรกิจได้นอกจากนี้ในการปรับสภาพโมเดลของธุรกิจอาจจะต้องตัดต้นทุน (Cost) บางอย่างที่ไม่จำเป็นออก หรืออาจจะพิจารณาในเรื่องของการขอลดค่าเช่า อันเหตุสืบเนื่องจากประสบปัญหาภาวะในปัจจุบันนั้นเอง”
ดร.สุทธิภัทร อัศววิชัยโรจน์ อาจารย์คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด เปิดเผยว่า “ในสถานการณ์ปัจจุบันธุรกิจที่จะอยู่รอดได้จะต้องเป็นธุรกิจที่สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบันที่เวิร์คฟอร์มโฮม (Work From Home) เพิ่มมากยิ่งขึ้น ดังนั้นธุรกิจควรบริหารจัดการโดยการเข้าถึงผู้บริโภคให้ได้ง่ายมากขึ้นและสามารถติดต่อสื่อสารหรือเพิ่มช่องทางในการติดต่อกับลูกค้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า ในการที่จะอธิบายสินค้าหรือให้คำแนะนำตลอดจนวิธีการในการใช้สินค้าดังกล่าว
นอกจากนี้ควรทำความเข้าใจในสภาวะการในปัจจุบันและปรับลดต้นทุนในการบริหารดำเนินงานให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคและหาสินค้าใหม่ๆที่คอยตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคมาทดแทน นอกจากนี้ยังต้องใช้กลยุทธ์เพิ่มยอดขายทั้งในส่วนการออกโปรโมชั่นหรือการนำเสนอสินค้าให้สอดคล้องกับเทรนด์ผู้บริโภคในปัจจุบัน อย่างในกรณีต่างต่างประเทศธุรกิจที่เกี่ยวกับการใช้ชีวิตในบ้าน เช่น การปลูกต้นไม้การทำ DIY จะเป็นธุรกิจที่ตอบโจทย์ในปัจจุบันเป็นอย่างมากและสร้างยอดขายในภาวะวิกฤตแบบนี้ได้ดี” ดร.สุทธิภัทร กล่าวทิ้งท้าย