62 ปี วช. ยกงานวิจัย​“นวัตกรรมเซนเซอร์ตรวจวัดสารปนเปื้อนในอาหารและสิ่งแวดล้อม”

62 ปี วช. ยกงานวิจัย​“นวัตกรรมเซนเซอร์ฉลาดสำหรับตรวจวัดสารปนเปื้อนในอาหารและสิ่งแวดล้อม” มาโชว์

วันที่ 28 ตุลาคม 2564 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดแถลงข่าว “NRCT Talk: 62 ปี วช. นวัตกรรมรักษ์โลก” โชว์ “นวัตกรรมเซนเซอร์ฉลาดสำหรับตรวจวัดสารปนเปื้อนในอาหารและสิ่งแวดล้อม” หนึ่งในนวัตกรรมที่ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับรางวัลประกาศเกียรติคุณ ประจำปี 2564

โดยมี ศาสตราจารย์ กิตติคุณ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน พร้อมกับ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

ศาสตราจารย์ กิตติคุณ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า สิ่งที่นักวิจัยถูกวิจารณ์ คือ การอยู่บนหอคอยงาช้าง งานวิจัยไม่มีช่องทางการสื่อสารมากเพียงพอ

NRCT Talk ถือเป็นเวทีให้กับนักวิจัยเพื่อสื่อสารงานวิจัยไปยังสาธารณะ ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อนเกินไป เป็นการสร้างปัญญาให้กับประเทศ ให้ประชาชนสามารถหยิบยกไปใช้ประโยชน์ในชีวิตได้ หวังว่าจะช่วยให้ประเทศไทยเห็นคุณค่าในการลงทุนด้านวิจัย และนวัตกรรมมากยิ่งขึ้น

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เปิดบ้านแถลงข่าว “NRCT Talk: 62 ปี วช. นวัตกรรมรักษ์โลก” เพื่อเชิดชูนักประดิษฐ์ที่สร้างสรรค์ผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ สร้างคุณูปการให้กับวงวิชาการและประเทศชาติ

รวมทั้งเป็นรางวัลที่ส่งเสริมการสร้างแรงจูงใจของนักประดิษฐ์ และนักวิจัยในอันที่จะพัฒนานวัตกรรมทางความคิด และภูมิปัญญาที่เป็นประโยชน์ สร้างความก้าวหน้าในศาสตร์แขนงต่าง ๆ

ซึ่งนวัตกรรมเซนเซอร์ฉลาดสำหรับตรวจวัดสารปนเปื้อนในอาหารและสิ่งแวดล้อม ของ รองศาสตราจารย์ ดร.นภาพร ยังวิเศษ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับรางวัลประกาศเกียรติคุณ

ซึ่งนวัตกรรมดังกล่าวนักประดิษฐ์มีความคิดเห็นว่าอาหารการกินเป็นเรื่องสำคัญที่จะส่งผลต่อร่างกายของผู้บริโภคได้ จึงได้อุทิศตนเพื่อประดิษฐ์คิดค้น “นวัตกรรมเซนเซอร์ฉลาดสำหรับตรวจวัดสารปนเปื้อนในอาหารและสิ่งแวดล้อม” ขึ้น

รองศาสตราจารย์ ดร.นภาพร ยังวิเศษ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
กล่าวว่า นวัตกรรมเซนเซอร์ฉลาดสำหรับตรวจวัดสารปนเปื้อนในอาหารและสิ่งแวดล้อม เป็นอุปกรณ์ตรวจวัดสารปนเปื้อน ซัลไฟด์ และไซยาไนด์ โดยอาศัยปฏิกิริยาเฉพาะเจาะจง และมีอุปกรณ์ sample holder ที่ออกแบบใหม่ เป็น “Novel Sample Holder” เพื่อหนีบกับสมาร์ทโฟน และใช้แอปพลิเคชั่นในการหาปริมาณสารในอาหาร

นอกจากนี้ นวัตกรรมดังกล่าว ยังตรวจวัดปริมาณ
ซัลไฟต์ในอาหาร ตรวจวัดปริมาณไซยาไนด์ในน้ำดื่ม ตรวจวัดทีเอ็นทีในดิน รวมทั้งในเสื้อผ้า พื้นผิวต่าง ๆ และตรวจวัดไนไตรต์ในตัวอย่าง ซึ่งจะเป็นเครื่องมืออย่างง่ายให้ผู้ประกอบการ หรือให้ผู้บริโภคใช้ตรวจสอบป้องกันสารอันตรายต่อร่างกาย โดยผลที่ได้เมื่อเทียบเคียงกับวิธีทดสอบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน สามารถให้ผลแม่นยำเช่นกัน

การใช้งานของ “นวัตกรรมเซนเซอร์ฉลาดสำหรับตรวจวัดสารปนเปื้อนในอาหารและสิ่งแวดล้อม” นำเซนเซอร์ฉลาดที่ออกแบบไปหนีบบนสมาร์ทโฟนได้ทั้งแนวตั้งแนวขวาง กล้องอยู่ริมหรืออยู่กลางก็สามารถใช้งานได้ สามารถประมวลผลเป็นปริมาณสาร พร้อมชุดทดสอบสารต่าง ๆ บนแพลตฟอร์มของสำลีก้านเพื่อช่วยลดการรบกวนจากสารอื่น ๆ ในตัวอย่างโดยเฉพาะเมื่อใช้ร่วมกับเทคนิค headspace microextraction

โดยสารที่สนใจถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแก๊สและขึ้นไปจับกับรีเอเจนต์เฉพาะในสำลีก้านที่แขวนเหนือสารตัวอย่าง และเมื่อนำไปใส่ใน sample holder ที่หนีบติดกับกล้องสมาร์ทโฟน จากนั้น แอปพลิเคชั่น จะถ่ายภาพและแปลงข้อมูลเป็นความเข้มข้น โดยเทียบกับกราฟมาตรฐานที่เก็บไว้

นอกจากนี้ ตัว sample holder มีจุดเด่นคือ สามารถใช้ได้กับสมาร์ทโฟนหลายรุ่น และหลายยี่ห้อ เนื่องจากออกแบบเป็นแบบหนีบมีขนาดเล็ก ตัว sample holder มีเลนส์ช่วยเพื่อลดระยะห่างระหว่างตัวอย่างที่ถ่ายกับกล้อง เพื่อทำให้อุปกรณ์มีขนาดเล็กลง มี LED white light เพื่อช่วยให้แสงในการถ่ายภาพ

นอกจากนี้ sample holder ยังสามารถประยุกต์ใช้กับการถ่ายสารละลายใน cuvette โดยออกแบบที่ใส่ cuvette และ vial ไว้ด้วยงานวิจัยคุณภาพจะเป็นทางเลือกให้เกษตรกร และภาคอุตสาหกรรมเกษตรนำไปใช้ช่วยยกระดับคุณภาพ ลดรายจ่าย และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ซึ่งช่วยให้สินค้าเกษตรกรไทย เปิดโอกาสในตลาดโลก ลดปัญหาการกีดกันทางการค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ