กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา(กสศ.) เปิดรับข้อเสนอทุนนวัตกรรมสายอาชีพขั้นสูง ปี 2566 ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและขาดทุนทรัพย์ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ตอบสนองตลาดแรงงาน ขจัดปัญหาความยากจน สร้างความเข้มแข็งให้ประเทศตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0
น.ส.ธันว์ธิดา วงศ์ประสงค์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา(กสศ.) กล่าวว่า แม้ว่าประเทศไทยลงทุนด้านการศึกษาในแต่ละปีสูงถึง 5 แสนล้านบาท แต่ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษายังคงพบเห็นได้ทุกพื้นที่ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจสังคมและเป็นอุปสรรคสำคัญในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลกด้านการศึกษาซึ่งประเทศไทยได้ให้คำมั่นสัญญาแก่ประชาคมโลกว่าจะทำให้สำเร็จในปี 2030
จากเจตนารมณ์ในรัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 มาตรา 54 บัญญัติให้จัดตั้งกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา(กสศ.) และประกาศบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 14 พ.ค.2561 เพื่อช่วยเหลือการขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำการศึกษา เสริมสร้างพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครูโดย มีการบริหารจัดการเป็นอิสระ เราเชื่อว่าทุกคนมีโอกาสพัฒนาตนเองตามศักยภาพและเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ เพราะทรัพยากรมนุษย์เป็นแกนกลางของการพัฒนา
น.ส.ธันว์ธิดา กล่าวอีกว่า ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเป็นปัญหาท้าทายต่อการศึกษาของประเทศไทย การขจัดปัญหาเหล่านี้จำเป็นให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพประชาชนให้มีโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมกัน ดังนั้นกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา จึงได้จัดทำโครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง ปี 2566 โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม สำหรับหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล/ผู้ช่วยทันตแพทย์ สำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ และสำหรับสถานศึกษาทั่วไปและสถานศึกษานวัตกรรม เพื่อส่งเสริม สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และผู้ด้อยโอกาสให้ได้รับการศึกษา หรือพัฒนาเพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพตามความถนัดและมีศักยภาพที่จะพึ่งพาตนเองในการดำรงชีวิตได้ และการส่งเสริม สนับสนุนให้ความช่วยเหลือสถานศึกษาเพื่อให้มีการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ และพัฒนาได้ตามความถนัดและศักยภาพของตนเอง
อย่างไรก็ตามหนึ่งในปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่ท้าทายยิ่ง คือ กลุ่มเยาวชนที่มีความต้องการพิเศษไม่มีโอกาสเข้าถึงการศึกษา หรือแม้ว่ามีโอกาสเข้าถึงการศึกษาแต่ก็ขาดโอกาสการมีงานทำ ที่ทำให้หลุดพ้นความยากจน นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี ดังนั้นการสร้างโอกาสทางการศึกษาสายอาชีพให้แก่ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ ให้มีการศึกษาต่อ รวมถึงหนุนเสริมสถานศึกษาสายอาชีพให้เข้มแข็ง เพื่อไปเสริมสร้างความพร้อมสู่การมีงานและพึ่งพาตนเอง หลังจบการศึกษา ด้วยแนวคิด “ สร้างความพิเศษ เป็นพลัง”
ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง เป็นการทำงานเพื่อพัฒนาต้นแบบโมเดลระบบ ทุนการศึกษาสายอาชีพที่จะมีการแลกเปลี่ยนการทำงานและส่งต่อให้หน่วยงานหลักในการขยายผลทั้งระบบการศึกษาต่อไป และถือเป็นอีกช่องทางสำคัญในการผลิตกำลังคนที่สร้างความเข้มแข็งให้กับภาคการผลิตและภาคธุรกิจ เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580) รวมถึงตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานในประเทศ
ขณะที่ นางปัทมา วีระวานิช ผู้ชำนาญการด้านการขับเคลื่อนนโยบายอาชีวศึกษา เพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศเฉพาะทาง (Excellent Center) สอศ. และผู้ทรงคุณวุฒิ กสศ. กล่าวว่า เรามีการทำงานร่วมกับสมาคมผู้พิการ เช่น ในยุคแรกเราร่วมมือกับวิทยาลัยสารพัดช่างนครหลวงในการจัดการเรียนการสอนสำหรับผู้พิการทางสายตา ซึ่งเป็นช่วงที่เราพยายามเรียนรู้ในการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อน้องๆ ผู้พิการ ต่อมาคือการขยายผลมีภาคีเพิ่มมากขึ้น
แม้ว่าจำนวนสถานศึกษาอาชีวะเพื่อผู้พิการมากขึ้น แต่ในแง่ของการกระจ่ายตัวยังไม่เพียงพอ เพราะผู้เรียนที่มีคสวามต้องการพิเศษมีข้อจำกัดอยู่ไกลบ้านได้ไม่มากนัก การข้ามเข็ต ข้ามภาคไปเรียนที่อื่นๆ อยู่ไกล จึงไม่สะดวกมากนัก เราจึงอยากเห็นสถานศึกษาอาชีวะเข้ามามีส่วนร่วมการจัดการศึกษามากขึ้น มีการกระจายตัวมากขึ้นทั่วประเทศ
กสศ.มุ่งเน้นสนับสนุนทุนในสาขาที่ขาดแคลนและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน โดยทุนจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวติ และค่าเทอม ทุนการศึกษาที่อื่นให้แล้วก็จบกันไป แต่ทุนของ กสศ. นี้ เราจะติดตาม ผลการศึกษา ความประพฤติ กระบวนการทั้งระบบ มีระบบฝึกงานเข้มข้นเพื่อเพิ่มโอกาสในการทำงานมากขึ้น
“ทุนนวัตกรรมสายอาชีพขั้นสูงจึงเป็นการช่วยเหลือผู้ขาดแคลนโอกาส เพิ่มโอกาสให้เด็ก ทำให้คนมีงานทำ เพิ่มความมั่นคงในชีวิต โดยเฉพาะในกลุ่มผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ ให้ได้มีศักยภาพ ลดภาระครอบครัว สามารถดูแลตัวเองได้”นางปัทมา กล่าว
ด้านนายภูรี สมิทธิเนตย์ หัวหน้าโครงการ Café Amazon For Chance บริษัท สานพลังวิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด ในกลุ่ม ปตท. กล่าวว่า โครงการ Cafe Amazon for chance เป็นโครงการให้กลุ่มผู้ด้อยโอกาส หรือความพิเศษได้มีโอกาสทำงานกับทางเรา โดยกลุ่มผู้ด้อยโอกาสมีตั้งแต่กลุ่มผู้พิการทางการได้ยิน ผู้พิการทางออทิสติก และผู้พิการทางการเคลื่อนไหวรวมถึงผู้สูงวัยด้วย เราได้ทำโครงการนี้มาประมาณ 5 ปีกว่า ปัจจุบันคาเฟ่อเมซอน ได้รับพนักงานด้อยโอกาสให้เข้าทำงานแล้วประมาณ 68 สาขา มีการจ้างวงานกว่า 200 อัตรา
เราก็ใช้แนวคิดการเรียนรู้ ว่าจุดแข็งจุดด้อยของตัวกลุ่มผู้พิการมีอะไรบ้าง โดยเฉพาะในกรณีกลุ่มผู้พิการทางการได้ยิน เรารู้ว่าเขามีความบกพร่องทางการสื่อสาร เราก็มีการที่ดีไซน์การทำงานเพื่อให้ขับเคลื่อนไปได้ โดยพนักงานปกติมาร่วมเรียนรู้ภาษามือ เพื่อให้สื่อสารร่วมกันได้ เพราพยายามให้พนักงานกลุ่มพิเศษนี้ได้มีโอกาสทำงานในทุกๆ ฝ่าย เช่น ตำแหน่งรับออเดอร์ ตำแหน่งพนักงานชงเครื่องดื่ม หรือตำแหน่งฝ่ายประสานงานซัพพลายเออร์ ทำให้น้องๆ มีการพัฒนาตัวเองตลอดเวลาเหมใอนคนปกติทั่วไป จนสามารถขึ้นตำแหน่งบริหารเพิ่มเติมได้