วันสถาปนาวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล “The MUIC 37th Anniversary: Creating Global Citizens”
เนื่องในโอกาสที่วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ครบรอบ 37 ปี วันคล้ายวันสถาปนาวิทยาลัยนานาชาติจึงได้จัดกิจกรรม The MUIC 37th Anniversary: Creating Global Citizens และเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองวันครบรอบการก่อตั้ง
![](https://mfocusnews.com/wp-content/uploads/2023/03/1679582246147_copy_600x398-1.jpg)
วันที่ 23 มีนาคม 2566 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ให้เกียรติเข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เรื่องโครงการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียน การสอน หลักสูตรวิชาโทสาขาวิชาการออกแบบนวัตกรรมด้านสุขภาพ (Designing Health Innovation) และ หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบทางการแพทย์ (Biodesign) หลักสูตรนานาชาติ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ทั้งนี้ ศาสตราจารย์แพทย์หญิงจุฬธิดา โฉมฉาย คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน และต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ
![](https://mfocusnews.com/wp-content/uploads/2023/03/1679582263277_copy_600x398.jpg)
กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย เสวนาหัวข้อ Health Innovation Design Collaboration โดย ศาสตราจารย์แพทย์หญิงจุฬธิดา โฉมฉาย คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ ร่วมกับศาสตราจารย์ นายแพทย์อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จากนั้น ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้เกียรติเสวนาพิเศษ ในหัวข้อ “Creating Global Citizens”
![](https://mfocusnews.com/wp-content/uploads/2023/03/1679582248095_copy_600x398.jpg)
และปิดท้ายกับกิจกรรมเสวนา“Lifelong Learning, Global Citizenship, and Sustainability” โดยศิษย์เก่าของวิทยาลัยนานาชาติ ได้แก่ คุณทศพล ศุภเมธีกูลวัฒน์ CEO CirPlas Tech Co., Ltd., คุณศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย Marine Biologist, Conservation photojournalist และคุณศุภาวรรณ ศุภณีดิส Film and Cultural Studies Enthusiast ณ ห้อง Screening Room วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
![](https://mfocusnews.com/wp-content/uploads/2023/03/20230323_215457.jpg)
ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงจุฬธิดา โฉมฉาย คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University International College :MUIC) เปิดเผยถึง การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ( Memorandum of Understanding : MOU ) ทางวิชาการเรื่องโครงการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียน การสอน หลักสูตรวิชาโท สาขาวิชา Designing Health Innovations หรือการออกแบบนวัตกรรมด้านสุขภาพ และ หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบทางการแพทย์ (Biodesign) หลักสูตรนานาชาติ กับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (Faculty of Medicine Siriraj Hospital) ว่า
![](https://mfocusnews.com/wp-content/uploads/2023/03/1679582247719_copy_600x398-1.jpg)
“วิทยาลัยนานาชาติฯ เล็งเห็นว่า หลักสูตร Biodesign ซึ่งมีสอนอยู่ในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สอนให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์ ศึกษาวิจัยจนได้กระบวนการใหม่ๆ ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จึงนำมาเป็นหลักสูตรวิชาโท (minor) ให้นักศึกษาของวิทยาลัยนานาชาติฯ ในระดับปริญญาตรีได้ศึกษา และไม่จำกัดเฉพาะกลุ่มนักศึกษาวิทยาศาสตร์ชีวภาพเท่านั้น จึงทำให้เกิดหลักสูตรนี้ขึ้นมา โดยให้เป็นวิชาโทที่นักศึกษาทุกๆ หลักสูตรใน MUIC สามารถศึกษา และได้ร่วมกันพัฒนาหลักสูตรเพื่อรอการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยมหิดล คาดว่าจะสามารถเปิดสอนได้ในภาคการศึกษาใหม่เดือนกันยายนที่จะถึงนี้ เบื้องต้นคาดว่าจะมีนักศึกษาสนใจเรียนไม่ต่ำกว่าปีละ 30 คน”
![](https://mfocusnews.com/wp-content/uploads/2023/03/1679582265410_copy_600x398.jpg)
ส่วนหลักสูตรนานาชาติ ระดับปริญญาโทวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาการออกแบบทางการแพทย์ นั้นจะทำการเรียนการสอนที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลเป็นหลักสูตร ที่คณาจารย์จากวิทยาลัยนานาชาติฯ ที่มีความชำนาญด้านอื่นๆ นอกเหนือจากด้านการแพทย์ จะเข้าไปร่วมสอน เพื่อให้ผู้เรียนที่เป็นทั้งนักศึกษาแพทย์และสาขาอื่น ๆ มีองค์ความรู้ที่กว้างขึ้น สำหรับหลักสูตรวิชาโทที่เปิดมี 5 วิชาประกอบด้วย 1.Community Health Innovations 2.Design Thinking in Health 3.Case Studies in Health Innovations 4.Cutting-Edge Technology for Health Innovations และ 5.Entrepreneurship and Innovation in Science
![](https://mfocusnews.com/wp-content/uploads/2023/03/1679582246617_copy_600x398.jpg)
ศาสตราจารย์ นายแพทย์อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ทั้งสองสถาบันเห็นตรงกันว่าหากได้แลกเปลี่ยนนักศึกษาซึ่งกันและกันจะเกิดประโยชน์เป็นอย่างมาก เนื่องจากคณะแพทยศาสตร์ฯ มีหน้าที่ผลิตแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ขณะที่วิทยาลัยนานาชาติฯ มีความเชี่ยวชาญทางด้านศิลปะ ด้านการบริหารจัดการ ด้านธุรกิจ มีองค์ความรู้เกี่ยวกับความเป็นนานาชาติที่โดดเด่น เมื่อมาร่วมมือกันจัดการเรียนการสอนจะทำให้นักศึกษามีมุมมองวิสัยทัศน์ที่กว้างขวางมากขึ้น สามารถประยุกต์เอาความรู้ที่ได้ไปใช้ในการทำงานในอนาคตได้
“เราเป็นแพทย์ไม่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับธุรกิจแต่ว่ามีความจำเป็นเพราะเราต้องมองถึงความยั่งยืน ความอยู่รอด การบริหารจัดการ การที่เราต้องคิดเรื่องใหม่ๆ ที่มีผลดีต่อตัวเราเอง มีผลดีต่อคนไข้ ต่อสังคม ประเทศชาติ มันมีประโยชน์ทั้งหมด”
![](https://mfocusnews.com/wp-content/uploads/2023/03/1679582245778_copy_600x398.jpg)