ถอดบทเรียน การดูแลผู้ติดสารเสพติด

พยาบาลทั่วโลกประกาศบทบาทต่อการดูแลผู้ติดสารเสพติด ด้วยการให้ความรู้ และการป้องกันติดยาให้อยู่ในสังคมที่มียาเสพติดอย่างปลอดภัย ในงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การเสพติด ปี 2566

ตัวแทน “พยาบาล” หลายประเทศร่วมถกงานประชุมวิชาการยาเสพติด เชื่อมโยงความรู้โซนโลกตะวันออก-ตะวันตก คาด ต.ค.นี้ ประกาศบทบาทพยาบาลทั่วโลกต่อการดูแลผู้ติดสารเสพติด ไทยชูบทบาทร่วมบำบัดรักษา ช่วยให้ความรอบรู้ป้องกันติดยาให้อยู่ในสังคมที่มียาเสพติดอย่างปลอดภัย เผยโมเดลใช้ศิลปะร่วมรักษาแบบยอมรับตนเอง

ดร.ดาราวรรณ ต๊ะปินตา ผู้อำนวยการศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคตะวันออก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี กล่าวในงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การเสพติด ปี 2566 หัวข้อ “บทบาทของพยาบาลในการศึกษาและการจัดการการเสพติด” ว่า วงสนทนาในวันนี้มีตัวแทนพยาบาลด้านสารเสพติดเข้าร่วม ทั้งจากคณะพยาบาลศาสตร์ ม.บูรพา ม.เชียงใหม่ ม.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย และจากประเทศอื่นๆ ทั้งอังกฤษ สหรัฐอเมริกา อินเดีย และกัมพูชา เพื่อแลกเปลี่ยนและถอดบทเรียนการดำเนินงานของพยาบาลเกี่ยวกับงานด้านยาเสพติด ซึ่งในส่วนของพยาบาลนั้นถือว่ามีความสำคัญมาก

เนื่องจากแพทย์ จิตแพทย์ และนักจิตวิทยามีน้อย กำลังหลักในการดูแลงานด้านนี้จึงเป็นพยาบาลจิตเวช ทั้งในส่วนของการคัดกรอง ประเมินอาการ ติดตามบำบัดฟื้นฟู ผู้ติดยาเสพติด อย่างกัมพูชาได้แลกเปลี่ยนว่าต้องทำทุกอย่างแม้กระทั่งจ่ายยาเมทาโดน

ดร.ดาราวรรณ กล่าวต่อว่า งานสำคัญอีกส่วนของพยาบาลคือ งานส่งเสริมสุขภาพเพื่อลดปัญหาและการใช้สารเสพติดในชุมชน โดยเฉพาะการทำการศึกษาวิจัยและการให้ความรู้แก่สังคม ที่ไม่ใช่เพียงแค่องค์ความรู้เท่านั้น แต่ต้องทำให้ประชาชนเกิดความรอบรู้ (Literacy) ซึ่งจะทำให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักรู้ สามารถใช้ชีวิตด้วยความปลอดภัยจากสารเสพติดที่มีอยู่ในสังคมรอบตัวได้

“ที่ผ่านมาแนวทางของไทยรวมถึงกระทรวงสาธารณสุข คือ การทำให้ยาเสพติดเป็นศูนย์ หรือเซ็ตซีโร่ แต่ในความเป็นจริงเราไม่สามารถทำให้ยาเสพติดเป็นศูนย์หรือหายไปได้ สิ่งสำคัญคือการทำให้ประชาชนสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างปลอดภัยจากสารเสพติด

จากงานวิจัยของทางคณะพยาบาลศาสตร์ ม.แม่ฟ้าหลวง ค่อนข้างชัดเจนในเรื่องนี้ มีการลงพื้นที่ทำวิจัยในเด็กชาติพันธุ์ในพื้นที่อายุ 8-12 ปี ได้พบว่า มีความเสี่ยงเข้าถึงยาเสพติดได้ง่าย เนื่องจากอยู่ในพื้นที่เสี่ยงที่มียาเสพติดระบาด สามารถหาได้ง่ายกว่าขนมหรือไอศกรีม เราก็ต้องทำงานเพื่อให้เขาใช้ชีวิตอย่างปลอดภัยจากยาเสพติด” ดร.ดาราวรรณกล่าว

ดร.ดาราวรรณ กล่าวอีกว่า สำหรับคณะพยาบาลศาสตร์ ม.บูรพา ได้แบ่งปันประสบการณ์ โดยมีการตั้งศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคตะวันออก เพื่อจัดการแก้ไขปัญหาสารเสพติดในภาคตะวันออก.ค่งค่อนข้างแตกต่างจากพื้นที่ภาคอื่นคือ มีกลุ่มชาวประมงและแรงงานในโรงงาน

เราจึงพยายามเป็นศูนย์กลางด้านงานวิจัย สถิติและองค์ความรู้ด้านสารเสพติด โดยมีการลงนามบันทึกความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนงานร่วมกัสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)

โดย สวรส.สนับสนุนทุนในการวิจัย และป.ป.ส.ทสนับสนุนทำหมู่บ้านต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในการอยู่กับสารเสพติดอย่างปลอดภัย และถอดบทเรียนแลกเปลี่ยนจากพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จ โดยเราพร้อมเป็นผู้ฝึกให้พยาบาล หรือวิชาชีพอื่น เช่น แพทย์ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ มาฝึกวิธีใช้การบำบัดโดยการแก้ปัญหา ปัจจุบันมีโครงการทำอยู่ 4 โครงการ

“อย่างโปรแกรมการบำบัดคือ Act Art ที่นำเรื่องการรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญา (Acceptance Commitment Therapy) มาบวกกับศิลปะคือ Art โดยคนที่ติดสารเสพติดมักคิดว่าเป็นแกะดำ โดยเราไปทำกับเด็กในกลุ่มวิวัฒน์พลเมือง ที่ติดสารเสพติดมาแล้ว

เราคุยกับเขาว่ามันเป็นอดีตที่ดำมือที่จบไปแล้วเราเริ่มใหม่ ซึ่งการพูดง่ายแต่เขาไม่เก็ตเท่าเอาศิลปะเข้าไปช่วย โดยให้เขาวาดรูปสีสวยอย่างดี เช่น บ้าน โรงเรียนที่เคยอยู่ จากนั้นผู้บำบัดเอาสเปรย์สีดำมาฉีดทับทุกรูป ก็บอกว่าไม่ต้องตกใจ แล้วเอาสีที่วาดบนพื้นดำให้เขาวาดใหม่ ปรากฏว่าก็ออกมาสวยมาก เราก็คุยกับเขาว่า สีดำนั้นล้างไม่ออก นั่นคือประวัติติดยา แต่เราสามารถไป New Chapter ได้

ดังนั้น ภาพที่สวยงามคืออดีต ถูกภาพพื้นสีดำกลบทับไว้แต่ก็จบไปแล้ว เราวาดใหม่ก็เหมือนเราเริ่มชีวิตใหม่ได้ โดยมีอาจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์ ม.บูรพา มาร่วม รวมถึงยังมีเรื่องของการปรับความคิดและพฤติกรรม เพื่อลดการซึมเศร้าด้วย” ดร.ดาราวรรณ กล่าว

ดร.ดาราวรรณ กล่าวว่า จากการแลกเปลี่ยนในครั้งนี้ ทางตัวแทนจากอังกฤษระบุว่าในเดือน ต.ค. นี้จะมีการประชุมกลุ่มเพื่อหารือเกี่ยวกับบทบาทของงานพยาบาลเรื่องการดูแลสารเสพติดคืออะไร ซึ่งเขาสนใจการทำงานของทางแถบเอเชียมาก เนื่องจากยังไม่ค่อยมีข้อมูลในพื้นที่แถบนี้ และจะเชิญไทยไปร่วมหารือด้วย เพื่อแลกเปลี่ยนงานดูแลช่วยเหลือผู้ติดสารเสพติดของพยาบาลทั่วโลก

ซึ่งไทยจะได้นำงานวิจัยไปเผยแพร่จะช่วยทำให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างโลกตะวันออกและตะวันตก ทำให้สามารถนำประสบการณ์ บทเรียนและองค์ความรู้ระหว่างกันและกันมาปรับใช้ได้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *