ปฏิวัติการรักษาโรคด้วย “สเต็มเซลล์” (Stem Cell) นวัตกรรมทางการแพทย์ อีกทางเลือกของการเพิ่มโอกาสในการรักษา
“สเต็มเซลล์” (Stem Cell) ปัจจุบันถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ที่มีโอกาสใช้ในการรักษาโรคได้จากคุณสมบัติที่สเต็มเซลล์มันสามารถเปลี่ยนสภาพเป็นเซลล์ในร่างการได้ขึ้นอยู่กับกระบวนการเนี่ยวนำและขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ได้รับการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ดังนั้นสเต็มเซลล์มีโอกาสในการใช้เกี่ยวกับโรคที่เกิดจากสภาวะเสื่อมของร่างกายหรือการที่ร่างกายของมนุษย์แก่ไปตามวัยสเต็มเซลล์จะเข้าไปช่วยฟื้นฟูอวัยวะหรือโรคนั้นที่เกี่ยวกับสภาวะเสื่อมหรือสูงวัยตามสภาพร่างกาย
รองศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา น้อยสา หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิเคราะห์และพัฒนานวัตกรรมด้วยเซลล์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) เปิดเผยว่า “การใช้สเต็มเซลล์เพื่อการรักษาถือว่ายังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาเรื่องความปลอดภัยและเรื่องประสิทธิภาพในการใช้สเต็มเซลล์ ทั้งนี้การใช้สเต็มเซลล์ต้องอยู่ภายใต้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญรวมถึงการใช้สเต็มเซลล์จากแหล่งที่มาแหล่งผลิตห้องวิจัยที่มีมาตรฐานเชื่อถือได้ ปลอดภัยและไม่เกิดผลข้างเคียง
ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มโรคที่ไม่ติดต่อ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคไตเสื่อม เป็นต้น โรคพวกนี้มีการศึกษาวิจัยทางการแพทย์แล้วว่าสเต็มเซลล์สามารถช่วยฟื้นฟูการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ เหล่านี้ได้ เช่น โรคเบาหวาน เกิดจากการที่ตับอ่อนผลิตอินซูลินได้น้อยลง ซึ่งอินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด พอเราอายุมากขึ้นหรือว่ามีพฤติกรรมทางการรับประทานอาหารที่อาจจะผิดปกติไป ตัวตับอ่อนก็จะทำงานได้ไม่ดีนัก
จึงได้มีการศึกษาว่าการเอาสเต็มเซลล์ฉีดเข้าไปทางหลอดเลือดดำ ทำให้สเต็มเซลล์เมื่อเข้าไปในร่างกายของมนุษย์ก็จะไปตรวจจับได้ว่าอวัยวะส่วนใดในร่างกายมีความเสื่อมและต้องการการฟื้นฟู้สเต็มเซลล์ก็จะวิ่งไปในอวัยวะเป้าหมายและก็ช่วยฟื้นฟูตับอ่อนที่ผลิตอินซูลินได้น้อยลง ให้กลับมาผลิตได้ดีขึ้นหรืออยู่ในระดับปกติ เมื่ออินซูลินอยู่ในระดับปกติแล้วคนไข้ก็ไม่จำเป็นต้องฉีดอินซูลินเข้าร่างกายอีกต่อไปนี้ก็เป็นหนึ่งในผลงานวิจัยที่ยืนยันแล้วว่าสเต็มเซลล์ช่วยรักษาโรคเบาหวานได้”
นอกจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อแล้วยังมีกลุ่มโรคที่เกี่ยวกับกระบวนการอักเสบสเต็มเซลล์มีความสำคัญที่ทำหน้าที่ในการช่วยลดกลไกลการอักเสบต่าง ๆ ในร่างกายได้ เช่น การอักเสบที่เกิดจากการบริโภคแอลกอฮอล์ติดต่อกันเป็นเวลานานหรือว่ามีสารพิษตกค้างในตับ เมื่อปล่อยให้เกิดการสะสมเป็นนาน ก่อให้เกิดการอักเสบได้ พบว่ามีงานวิจัยเช่นเดี่ยวกันการให้สเต็มเซลล์ทางหลอดเลือดดำก็สามารถช่วยลดการอักเสบต่าง ๆ ในอวัยวะภายในได้ด้วยเช่นกัน
“ส่วนอีกกลุ่มโรคหนึ่งที่สามารถมีโอกาสใช้สเต็มเซลล์ในการรักษาหรือช่วยบรรเทาการบาดเจ็บจากโรคได้ โรคนี้เกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของมนุษย์ทำงานมากเกินไปจนกลับมาทำร้ายตัวเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของคนไข้เองจนเกิดการอักเสบ เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคพุ่มพวง เป็นต้น ซึ่งตัวสเต็มเซลล์กลไกลการทำงานสำคัญอย่างหนึ่ง คือการไปปรับความสมดุลระดับภูมิคุ้มกันในร่างกายให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยจนไม่เกิดการทำร้ายเนื้อเยื่อของคนไข้เอง
ซึ่งกลุ่มโรคทั้งหมดที่ได้ทำการยกตัวอย่างมานั้นก็ได้มีการศึกษาและวิจัยออกมาแล้วว่าสามารถใช้สเต็มเซลล์เพื่อช่วยในการรักษาได้เป็นอย่างดี ซึ่งสเต็มเซลล์สามารถแบ่งได้หลากหลายประเภทโดยกลุ่มสเต็มเซลล์ที่เริ่มมีการใช้ทางด้านคลินิกกันอย่างแพร่หลายคือกลุ่มสเต็มเซลล์ที่คัดแยกมาจากรก จากสายสะดือ
ซึ่งกระบวนการคัดแยกสเต็มเซลล์ตั้งแต่ต้นควรจะต้องมีระบบที่ปราศจากการปนเปื้อนของโปรตีนจากสัตว์ต่าง ๆ เพื่อไม่ให้เกิดการแพ้เมื่อนำไปใช้กับผู้ป่วย รวมถึงกระบวนการเพาะเลี้ยงในห้องแล็ปที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยขั้นสูงหรือที่เรียกว่าห้องเคมี ต้องมีผลวิเคราะห์ทดสอบด้วยความปลอดภัย เพื่อยืนยันความปลอดภัยต่าง ๆ
อยากให้ผู้ใช้หรือผู้ที่อาจจะมีโอกาสจะได้ใช้สเต็มเซลล์ ได้คำนึงถึงการคัดเลือกใช้สเต็มเซลล์จากแหล่งผลิตสเต็มเซลล์ที่ปลอดภัยได้มาตรฐาน เพื่อหวังผลทางด้านการรักษา และขั้นตอนการรักษาต้องไปรับการรักษาจากแพทย์ผู้มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้โดยเฉพาะ เพราะจะสามรถทำให้เรารักษาโรคได้อย่างแท้จริง” รองศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา น้อยสา กล่าวทิ้งท้าย