BE A BAG ประดิษฐกรรมรักษ์โลกจากครีเอทีฟโฆษณามืออาชีพ

แม้ช่วงเวลานี้สังคมและพื้นที่สื่อส่วนใหญ่ต่างให้ความสำคัญในเรื่องของสถานการณ์ COVID-19 ที่ยังคงลุกลามไปทั่วโลก แต่อีกประเด็นหนึ่งที่เรามิอาจปฏิเสธได้ว่าจะเพิกเฉยอย่างไร้ความรับผิดชอบคือ “กระแสรักษ์โลก” เพราะ “เมืองไทยของเรา” ถือได้ว่าเป็นประเทศที่มี “ขยะ” มากในลำดับต้น ๆ ของโลก ๆ โดยเฉพาะ “ขยะพลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง” หรือ Plastic Single Use นั้น กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระบุว่าประเทศไทยมีการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วในจำนวนมหาศาลถึง 4.5 หมื่นล้านใบต่อปี !

นั่นเองที่เป็นเหตุผลสำคัญให้ชายคนหนึ่งผู้ใช้ชีวิตการทำงานบนถนนสายเอเจนซี่โฆษณาและการแต่งเพลงระดับมืออาชีพที่สร้างผลงานมามายนับไม่ถ้วนถึงกับ “เจียนจนแต้ม” กับ “โจทย์” ที่ภาครัฐประกาศนโยบายรณรงค์งดการใช้ถุงพลาสติก !

“ผมเป็นพ่อบ้านที่นอกจากจะต้องทำงานประจำแล้ว ยังต้องมีวิถีชีวิตประจำวันในการจับจ่ายใช้สอยในร้านสะดวกซื้อซึ่งเมื่อเขาไม่มีถุงพลาสติกใส่สินค้า ผมก็พร้อมที่จะสนองรับกับนโยบายรัฐบาลในการงดใช้ถุงพลาสติก เพราะโดยส่วนตัวก็เลี่ยงการใช้ถุงพลาสติกเป็นเดิมทุนและเห็นด้วยที่จะช่วยชาติในการลดขยะพลาสติกซึ่งถือเป็นมลภาวะที่มีผลเสียอย่างใหญ่หลวงอยู่แล้ว แต่ก็เริ่มมีปัญหารู้สึกเคอะเขินในการถือ หรือสะพายถุงผ้าไปซื้อของ ทำให้พยายามคิดหาทางออกในการมีถุงผ้าไปซื้อของแบบไม่กระอักกระอ่วนใจ”

นั่นคือเหตุผลของ “ลอร์ด – ธวัฐไชย ฤดีอมรเกียรติ” ครีเอทีฟโฆษณาและนักแต่งเพลงมืออาชีพ ซึ่งในที่สุดได้ครีเอทอีกหนึ่งผลงานที่ “ฉีกแนวการทำงานเดิม” ด้วยการนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์การใช้สอยในรูปแบบของ “หมวกและถุงผ้า” BEABAG ในลักษณะ 2 in 1 จนสามารถนำไปจดอนุสิทธิบัตร (Petty Patent) จาก กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ พร้อมเริ่มทำตลาดได้อย่างเป็นทางการคล้อยหลังจากวันประกาศรณรงค์การงดใช้ถุงพลาสติกได้ไม่นานนัก

อนุสิทธิบัตร จาก กรมทรัพย์สินทางปัญญา ดังกล่าวคือ หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์จะมีลักษณะคล้ายกันกับการประดิษฐ์ แต่เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก หรือเป็นการประดิษฐ์คิดค้นเพียงเล็กน้อยและมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น

“ผมใช้เวลา 2-3 วันในการคิดว่าจะพกพาถุงผ้าไปกับอะไร จนในสุดก็สรุปเป็นหมวก โดยครั้งแรกคิดจะทำเป็นหมวกแก๊ป แต่ในที่สุดก็มาลงตัวที่หมวกปีกรอบเพราะสามารถนำหมวกปีกรอบมาใช้เป็นก้นถุงเพื่อรองรับน้ำหนักสิ่งของได้มากขึ้นด้วย”

เขาเล่าด้วยว่า ก่อนที่คิดแนวคิดเขาจะถูกจุดระเบิด เขาได้ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลจากสื่อออนไลน์และโซเชียลมีเดียทั้งในและต่างประเทศว่า ประดิษฐกรรมชิ้นนี้ของเขามีใครเคยทำมาก่อนหรือไม่ เพราะไม่เช่นนั้นเขาก็พร้อมจะพับโครงการ แต่เมื่อไม่พบว่ามีใครเคยทำมาก่อน เขาจึงเริ่มต้นจากทดลองเย็บมือด้วยตัวเองจนเห็นว่าใช้ได้ แล้วลองให้ร้านเย็บผ้าเล็ก ๆ ทดลองทำให้จนเขาพอใจ

แต่กว่า BE A BAG จะกลายมาเป็นประดิษฐกรรมรักษ์โลก “หมวกและถุงผ้า” 2 in 1 ในวันนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับ “ลอร์ด – ธวัฐไชย ฤดีอมรเกียรติ” เพราะเขาต้องตระเวนเสาะหาโรงงานผู้ผลิตหมวกพร้อมสายรัดคาง และถุงผ้า โดยใช้วัตถุดิบจากผ้าฝ้าย 100% เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์สู่ผู้สนใจในราคาคุ้มค่า เพียงชุดละ 350 บาท รวมค่าจัดส่ง โดยผู้สนใจสามารถติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสั่งซื้อ พร้อมรับโปรโมชันพิเศษได้ที่ เฟซบุ๊ก : https://www.facebook.com/beabag.lord/ หรือ โทร.08 1697 3301

ในเบื้องต้น “ลอร์ด – ธวัฐไชย ฤดีอมรเกียรติ” ทำการตลาด “หมวกและถุงผ้า” BEABAG ผ่านโซเชียลมีเดียทางเฟซบุ๊กแฟนเพจเท่านั้น แต่ก็ถือว่าได้รับผลตอบรับที่ดีไม่น้อย จนมีผู้สนใจติดต่อที่จะนำผลิตภัณฑ์ไปวางจำหน่ายในสถานที่ต่าง ๆ หลังจากที่ผ่านพ้นสถานการณ์ปิดสถานที่ชั่วคราวตามประกาศกรุงเทพมหานคร ไปแล้ว โดยเขายังพร้อมที่จะเปิดร้านบริเวณสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีต่าง ๆ เพิ่มเติม รวมถึงศึกษาช่องทางตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะ ญี่ปุ่น และจีน ซึ่งให้ความนิยมผลิตภัณฑ์ประเภทนี้อีกด้วย

“สำหรับโครงการที่กำลังจะเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้คือ BE A BAG Village ซึ่งเป็นแนวคิดที่จะเข้าไปร่วมมือกับชุมชนต่าง ๆ ที่มีผลิตภัณฑ์ชุมชนเกี่ยวกับผ้าพื้นบ้าน เช่น ผ้ามัดย้อม ผ้าไหม และอื่น ๆ โดยผมจะให้ชาวบ้านเป็นผู้ผลิตหมวกและถุงผ้า BE A BAG ตามแบบต้นฉบับ เพียงแต่ใช้วัตถุดิบของแต่ละชุมชน โดยดำเนินธุรกิจในลักษณะผลิตภัณฑ์ชุมชน หรือ สินค้าโอทอป เพื่อเป็นการสร้างงานและกระจายรายได้ให้แต่ละชุมชนซึ่งคาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการได้หลังจากที่สถานการณ์ COVID-19 คลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น”

นับเป็นก้าวเล็ก ๆ ที่ย่างอย่างมั่นคงและไม่หวาดหวั่นกับกระแสวิกฤติ COVID-19 ที่โหมกระหน่ำใส่ทุกภาคธุรกิจ เพราะการวางแผนงานอย่างรัดกุมของ BE A BAG “ประดิษฐกรรมรักษ์โลก” จากสำนึกของชายคนหนึ่งที่ต้องการลดปริมาณขยะพลาสติกให้น้อยลงจากที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *