เวียตเจ็ทประกาศงบการเงินปี 2019 ฐานการเงินที่มั่นคงพร้อมฟื้นตัวหลังโควิด-19

บริษัท เวียตเจ็ท เอวิเอชั่น จอยท์ สต็อค  (Vietjet Aviation Joint Stock Company – ตัวย่อหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์โฮจิมินห์ VJC) ประกาศงบการเงินปี 2019 สอบบัญชีโดย KPMG ระบุผลการดำเนินงานเชิงบวก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเติบโตที่เข้มแข็งในปี 2019 จากบริการขนส่งทางอากาศซึ่งเป็นธุรกิจหลักของบริษัท โดยเครือข่ายเสน้ทางบินเพิ่มขึ้น 24% และยังคงเป็นผู้นำตลาดการบินในประเทศเวียดนามทั้งในด้านจำนวนผู้โดยสารและเส้นทางการบินที่ขยายอย่างรวดเร็ว โดยมีจำนวนผู้โดยสารที่เดินทางถึง 25 ล้านคนเพิ่มขึ้น 28% จากปีที่ผ่านมา กลุ่มธุรกิจที่ได้รับการตรวจสอบผลการดำเนินงานปี 2019 แสดงรายรับรวมของเวียตเจ็ทอยู่ที่ 41,252 พันล้านดอง (ประมาณ 56,800 ล้านบาท) และผลกำไรก่อนหักภาษีอยู่ที่ 3,868 พันล้านดอง (ประมาณ 5,324 ล้านบาท) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 22% และ 27% ตามลำดับ

สายการบินเวียตเจ็ทได้รับมอบเครื่องบิน 7 ลำในปี 2019 ในขณะที่ในปี 2018 ได้รับมอบเครื่องบิน 16 ลำ โดยรายได้จากการขายและเช่าอากาศยานกลับ อยู่ที่ 9,350 พันล้านดอง เป็นผลให้รายรับรวมและกำไรก่อนหักภาษีของเวียตเจ็ตในปี 2019 อยู่ที่ 50,602 พันล้านดอง และ 4,569 พันล้านดองตามลำดับ

ตามรายงานทางการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2019 เวียตเจ็ททำการบินด้วยเครื่องบิน 78 ลำ โดยมีอายุเฉลี่ยฝูงบินอยู่ที่ 2.75 ปี มีอัตราการบรรทุกผู้โดยสารอยู่ที่ 87% อัตราความน่าเชื่อถือด้านเทคนิคที่อยู่ที่ 99.64% ติดอันดับกลุ่มสายการบินชั้นนำในเอเชียแปซิฟิก เวียตเจ็ทยังได้รับการจัดอันดับด้านความปลอดภัยสูงสุดระดับ 7 ดาวจากเว็บไซต์ AirlineRatings.com

ตามรายงานทางการเงินของเวียตเจ็ทที่ผ่านการตรวจสอบในปี 2019 ทรัพย์สินรวมมีมูลค่าอยู่ที่ 48,859 พันล้านดองโดยส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 17,249 พันล้านดอง เพิ่มขึ้น 25% และ 22.8% ตามลำดับจากปี 2018 สภาพคล่องปัจจุบันอยู่ที่ 1.3 โดยมีอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 0.79 ซึ่งเป็นอัตราที่ดีในการจัดหาเงินทุนสำหรับอุตสาหกรรมการบิน EBITDAR อยู่ที่ 30% โดยนับเป็นสายการบินชั้นนำทั้งในภูมิภาคและทั่วโลก ในขณะที่ Cash Balanceอยู่ที่ 6,073 พันล้านดอง รวมการลงทุนทางการเงินระยะสั้น วางเงินมัดจำให้กับผู้ผลิตสูงถึง 369 ล้านเหรียญสหรัฐ

ปัจจัยสำคัญต่อการเติบโตของสายการบินยังมาจากรายได้เสริม เช่น ค่าธรรมเนียมสัมภาระเช็คอิน และค่าธรรมเนียมบริการพิเศษการขนส่งสินค้าอาหารเครื่องดื่ม ของที่ระลึกและบริการบนเที่ยวบิน รวมถึงสื่อโฆษณา ในปี 2019 รายได้จากบริการเสริมของเวียตเจ็ตอยู่ที่ 11,305 พันล้านดอง เพิ่มขึ้น 35.6% เมื่อเทียบกับปี 2018 โดยสัดส่วนรายได้จากบริการเสริมจากรายได้รวมการขนส่งทางอากาศของสายการบินก็เพิ่มขึ้นจาก 25.3% ในปี 2018 เป็น 30.4% ในปี 2019

ในการรับมือกับสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด19 เวียตเจ็ทได้ใช้มาตรการในการรับมือตั้งแต่ต้นปี 2019 จนถึงปัจจุบัน เช่น การขยายธุรกิจในการขนส่งสินค้า การพัฒนาบริการ SkyBossและบริการเสริม รวมถึงผลิตภัณฑ์  “Power Pass” บัตรโดยสารที่จำหน่ายล่วงหน้า เป็นต้น นอกจากนี้เวียตเจ็ทยังเริ่มการให้บริการภาคพื้นดินที่ท่าอากาศยานนานาชาติโหน่ยบ่ายในฮานอยภายใต้การอนุญาตของสำนักงานการบินพลเรือนของเวียดนาม (CAAV)ช่วยให้เวียตเจ็ทเพิ่มประสิทธิภาพในดำเนินงาน ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้เสริมและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปรับปรุงการให้บริการผู้โดยสารที่สนามบิน

ในปี 2019 สถาบัน Vietjet Aviation Academy ยังคงเป็นส่วนสำคัญในแผนการพัฒนาที่ยั่งยืนของสายการบิน ไม่เพียงแค่ตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของสายการบินเท่านั้น แต่ยังตอบสนองความต้องการ<span lang=”TH” style=”font-size:10.0pt; font-family:”Tahoma”,sans-serif; color:windowtext; border:none; mso-ansi-language:EN-US; mso-bidi-language:TH; mso-ansi-font-weig

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *